วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

            ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ต  โดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน   บริษัท  หรือสถานศึกษาของตน  ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ  จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร  (LAN)  ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP)  ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง  (High-Speed Leased Line)  แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม  (Modem)  แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง  LAN  ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้   เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ  แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว  ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย

 

                      

clip_image001

ภาพแสดง  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ

 

             ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต   เรียกว่า  ISP  (Internet Service Provider)หรือ  ที่เรียกกันว่า  ไอเอสพี  จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ  (Server)  ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ  อินเทอร์เน็ต  ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้  ดังนั้น  ISP  ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต  ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว  เราก็สามารถเข้าไปยัง  ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อผ่านทาง  ISP  ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น  2  ประเภท  ตามความต้องการ
ใช้งาน   ดังนี้

1)  การเชื่อมต่อแบบองค์กร

            เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย  (Server)  ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ  ISP  เพื่อเชื่อมโยง  เข้าสู่ระบบ  อินเทอร์เน็ตได้เลย

 

2)  การเชื่อมต่อส่วนบุคคล

          เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป  ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่  อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์  ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า  โมเดม  (Modem)  ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก  เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า  การเชื่อมต่อแบบ  Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ  ISP  เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง  SLIP  หรือ  PPP account

 


TCP/IP  :  ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต

              ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก  แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้น  การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์  จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้  ซึ่งภาษากลางนี้มี  ชื่อทางเทคนิค  ว่า  "โปรโตคอล"  (Protocol)  สำหรับโปรโต   คอล เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียก ว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อม ๆ  กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

 

            หลักการทำงานของโปรโตคอล  TCP/IP  จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็นส่วนย่อย ๆ  (เรียกว่า แพ็คเกต : packet ) และ  ส่งไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง   โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

 

            รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล   TCP/IP  ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย   จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาด  ที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารได้  เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้  และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล  TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน  ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้  เช่น  ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่  เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน

 

SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์

           ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น  จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ  6 สาย  ในระบบ LAN  และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน  ดังนั้น  เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น  จึงต้องมีโปรโตคอล  เพิ่มขึ้นอีก  ซึ่งได้แก่  โปรโตคอล  SLIP  (Serial Line Internet Protocol)  และ  PPP  (Point-to-Point Protocol)  ซึ่งทำงานบน  TCP/IP  อีกทีหนึ่ง

 

SLIP

            โปรโตคอล  SLIP  ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้  TCP/IP  สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบแลน  (LAN)  กับระบบแวน  (WAN)  ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม  และเป็นที่ใช้  กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในระบบ  UNIX  ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ  นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ  UNIX  จะมีโปรโตคอล  SLIP  อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที

 

PPP

           เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล  SLIP  เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน  (LAN)  นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ  PPP  เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  ดังนั้น  PPP  จึงเป็นโปรโตคอลที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นๆ  ได้ดี  อีกทั้งยังเพิ่ม  ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย  และการบีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า  SLIP  และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป

 

IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์

               อาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ต  ว่า  รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อย่างไรลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ  เราต้องทราบข้อมูล  เช่น  บ้านเลขที่  ถนน  ตำบล  เป็นต้น  ในอินเทอร์เน็ต  ก็เช่นเดียวกัน  เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  เราก็จะต้องการที่อยู่ของ  เครื่องนั้นๆ  บนอินเเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า  ไอพี  แอดเดรส  (IP address)


            IP  address  เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง  ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก  โดยประกอบด้วยตัวเลข  4  ชุดต่อกัน  โดยมีจุด  (.) เป็นสัญลักษณ์  แบ่งตัวเลขเป็นชุด  ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่  0  ถึง  255

 

ตัวอย่าง : IP address             208.49.20.16

 

            เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรรIP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อ  ว่า interNIC  (Internet Network Information Center)   สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไปจะได้รับ  IP address  จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)  ซึ่งได้ทำการขอ  IP address  เตรียมไว้  ล่วงหน้าแล้ว

 

Domain Name  :  อินเทอร์เน็ตแอดเดรส

            ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้  IP address  แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก   ดังนั้น    เพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าว     จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส    หรือ   โดเมนเนมมาใช้   กล่าวคือการนำตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน   IP  address  อินเทอร์เน็ตแอดเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน  ดังนั้นโดเมนเนม  มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท   หรือ   ชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น

 

208.49.20.16  < --------------->  www.srithai.com

(IP Address)                                (โดเมนเนม)

 

          แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม  แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้  IP address  จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น  IP address  โดยจะมีการจัดตั้ง  คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่   มีชื่อเรียกว่า  DNS Serve

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น